เมนู

21. อัตถิปัจจัย


[604] 1. นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย

คือ กามฉันทนิวรณ์ เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ แก่อุทธัจจนิวรณ์
แก่อวิชชานิวรณ์ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย.
2. นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ในนีวรณมูล ก็มี 3 วาระ อย่างนี้ (วาระที่ 1-2-3)
4. ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ ฯลฯ
5. ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
ธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่างคือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ ฯลฯ
6. ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณ-
ธรรม และธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ ฯลฯ
7. นีวรณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
กามฉันทนิวรณ์ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธ-
นิวรณ์ แก่อุทธัจจนิวรณ์ แก่อวิชชานิวรณ์ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
กามฉันทนิวรณ์ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ แก่
อุทธัจจนิวรณ์ แก่อวิชชานิวรณ์ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
8. นีวรณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
ปัจฉาชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์1 ที่ไม่ใช่นีวรณธรรม และนีวรณธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกัน
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
นีวรณธรรมทั้งหลาย และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่
นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
นีวรณธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง และกวฬีกา-
ราหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง และรูป-
ชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
9. นีวรณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็น
ปัจจัยแก่นีวรณธรรม และธรรมที่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของ
อัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่

ขันธ์ 1 ที่ไม่ใช่นีวรณธรรม และกามฉันทนิวรณ์ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 3, ถีนมิทธนิวรณ์, อุทธัจจนิวรณ์, อวิชชานิวรณ์ และจิตตสมุฏฐาน-
รูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ
ที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
กามฉันทนิวรณ์ และหทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์, อุทธัจจ-
นิวรณ์, อวิชชานิวรณ์ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
พึงผูกจักรนัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[605] ในเหตุปัจจัย มี 4 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 9 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 9 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 9 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ ใน
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 3 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 3 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 9 วาระ
ในกัมมปัจจัย มี 3 วาระ ในวิปากปัจจัย มี 1 วาระ ในอาหารปัจจัย มี 3 วาระ
ในอินทริยปัจจัย มี 3 วาระ ในฌานปัจจัย มี 3 วาระ ในมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
ในสัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ในวิปปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัตถิปัจจัย
มี 9 วาระ ในนัตถิปัจจัย มี 9 วาระ ในวิคตปัจจัย มี 9 วาระ ในอวิคตปัจจัย
มี 9 วาระ.